ค่าไฟแพงยังไม่พอ การประปา เตรียมขึ้นค่าน้ำ หลังไม่ได้ปรับ 23 ปี

 

 หลังจากที่ประชาชนต่างเดือดร้อนกันทั่วหน้าเพราะว่าค่าไฟพุ่งสูงในเดือนนี้ เดือดยิ่งกว่าเพราะเดือนหน้า กกพ. จ่อ ปรับขึ้นค่าไฟ งวด พ.ค.-ส.ค. เป็น 4.77 บาทต่อหน่วย ต่อมา ทางภาครัฐและภาคเอกชนต้องมาร่วมกันพิจารณาปรับอัตราค่าไฟฟ้า โดยฝั่งของอนุกรรมการเอฟทีเห็นชอบลดค่าไฟงวดใหม่ 7 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้วันนี้ (24 เม.ย.66) ต้องมาลุ้นผลการประชุมบอร์ด กกพ. กันต่อ 

       ล่าสุด (24 เม.ย.66)  นายมานิต ปานเอม ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) กล่าวว่า ปัจจุบัน กปน.ได้รับผลกระทบจากต้นทุนหลักการผลิตน้ำประปาเพิ่มขึ้นทุกอย่าง ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นมาก ประกอบด้วย 

       1.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรัฐบาลเรียกเก็บที่ราชพัสดุ กปน.ต้องเสีย 150 ล้านต่อปี จากเดิมไม่ต้องเสีย 

       2.ค่าน้ำดิบจ่ายให้กับกรมชลประทานวันละ 3 ล้านบาท

       3.ค่าไฟเพิ่มขึ้น 20-30% หรือประมาณ 20 ล้านบาทต่อเดือน จากค่าเอฟทีของรอบเดือนมกราคม-เมษายน 2566 ปรับขึ้นกว่า 90 สตางค์ 

       4.ค่าธรรมเนียมการวางท่อเป็น 100 ล้านบาทต่อปี แม้ต้นทุนจะสูงขึ้น แต่ กปน.จะตรึงค่าน้ำไว้ให้นานที่สุด ตามนโยบายของรัฐบาลยังไม่ต้องการให้ขึ้นค่าน้ำ 



 ขณะเดียวกันพยายามบริหารจัดการต้นทุนทุกด้านให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การใช้ไฟฟ้า โดยจ่ายน้ำตามความต้องการใช้ เป็นต้น

       ปัจจุบันกำลังพิจารณาอัตราค่าน้ำให้สอดรับต้นทุนเพิ่มขึ้น หลังไม่ได้ขึ้นค่าน้ำมา 23 ปี เพื่อบริหารสภาพคล่องด้านการเงิน เพราะใช้เงินลงทุนไป 42,000 ล้านบาท เพื่อขยายการผลิตในโครงการ 9 

        ขณะที่ นายมงคล วัลยะเสวี รองผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) กล่าวว่า ตอนนี้ กปภ.อยู่ระหว่างศึกษาโครงสร้างค่าน้ำใหม่ ตามต้นทุนเพิ่มขึ้น 15-20% ทั้งจากค่าไฟ ค่าสารเคมี เพื่อขอขึ้นค่าน้ำ หลังไม่ได้ขึ้นมากว่า 10 ปี อีก 2 เดือนจะแล้วเสร็จ จากนั้นเสนอให้รัฐบาลใหม่พิจารณาว่าจะให้ปรับขึ้นหรือไม่ หรือจะให้ดำเนินการอย่างไรต่อไป การปรับขึ้นค่าน้ำเคยขอกับกระทรวงมหาดไทยแล้วแต่ไม่ได้รับอนุมัติ และขอให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายแทน


       จากภาระค่าไฟฟ้าสูงขึ้นและค่าเอฟทียังอยู่ในอัตราสูง ส่งผลต่อธุรกิจทุกภาคส่วน บางส่วนได้ปรับตัวรับสถานการณ์ พร้อมกับมีข้อเสนอให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้โอกาสนี้แก้ไขระยะสั้น และปรับปรุงเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำในอนาคต

       ผลกระทบจากค่าไฟฟ้าแพงมีผลต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีนั้น ภาคอุตสาหกรรมมีจำนวนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มี 523,372 ราย ภาคอุตสาหกรรมโดยรวมทั้งขนาดใหญ่ถึงขนาดเล็กเป็นภาคที่ใช้พลังงานไฟฟ้าสัดส่วนสูงสุดถึง 55% ของการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งประเทศ จะได้รับผลกระทบต้นทุนการผลิตจากการใช้ไฟฟ้าเป็นภาระค่าใช้จ่ายเพิ่ม ส่งผลต่อต้นทุนสินค้า อาจต้องปรับขึ้นด้วย  

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com 

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีจุดธูปขอหวย จุดยังไงให้ดวงเฮง ช่วยเสริมดวงรับทรัพย์

แจก สูตรเมนูโยเกิร์ต แสนเริ่ด อร่อยฟิน เฮลท์ตี้!

ไม่อยากเจ็บป่วยบ่อยๆ หมอจีนแนะ 19 สิ่งควรทำ ห้ามทำ หากใครทำได้จะดีมาก

อาหารตอนเช้ากิน 6 อย่าง ความจำดี แถมหุ่นดีสวย

รู้ไว้นะ ใครที่ชอบกิน “ชะอม”บ่อยๆ มันส่งผลกับร่างกายเรามหาศาล

แจก สูตรน้ำชงโซดา ซาบซ่า เฟรชเท่านี้ไม่มีอีกแล้ว!

ลักษณะของผู้หญิง ทั้ง 7 วัน เกิดวันไหนเจ้าชู้สุด

แจกสูตร ซาลาเปาหวาน สูตรนี้นุ่มมาก เย็นแล้วก็ไม่เหนียว ทำขายกำไรดีมาก

โลกนี้ไม่มีเรื่องบังเอิญ คนเราพบกัน เพราะวาสนาจากกัน เพราะโชคชะตา

เก็บไว้ทำ 2 สูตร ทอดปาท่องโก๋ กรอบนาน ทำขายลูกค้าติดใจ