ภาพปัจจุบัน อาจารย์แม่ จำได้ไหม รศ. ดร. สุนีย์ สินธุเดชะ อ. ที่เด็กยุค 90 รู้จัก
ถ้าจะพูดถึงอาจารย์ยุค 90 ที่เด็กๆ ทุกคนรู้จัก ก็คงจะหนีไม่พ้น รองศาสตราจารย์ ดร. สุนีย์ สินธุเดชะ หรือที่เรารู้จักท่านในชื่อของ อาจารย์แม่ นั่นเอง โดยอาจารย์แม่เป็นอาจารย์ที่สอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวิธีการพูดที่ฉะฉานเป็นเอกลักษณ์และเป็นที่รักของทุกๆ คนนั่นเอง
โดยในครั้งนี้ Sanook Campus เราก็จะพาเพื่อนๆ ยุคนี้ไปย้อนอดีตดูกันหน่อย หรือย้อนความจำเด็กยุค 90 กันซักหน่อยว่า อาจารย์แม่ รองศาสตราจารย์ ดร. สุนีย์ สินธุเดชะ เป็นใคร และตอนนี้ท่านทำอะไรอยู่
ประวัติ อาจารย์แม่
- อาจารย์แม่ มีชื่อจริงว่า สุนีย์ สินธุเดชะ
- เกิดเมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2479
- ภูมิลำเนาเป็นคนจังหวัดตาก
- คู่สมรส พล.อ.ต.ประเทศ สินธุเดชะ
- บุตร ดร.นิธินาถ เตลาน
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี อักษรศาสตรบัณฑิต และครุศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (นักเรียนทุนกระทรวงศึกษาธิการ)
หลังอาจารย์แม่จบการศึกษาจึงเข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอน โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาจึงย้ายมาเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้งเป็นอาจารย์พิเศษ โรงเรียนผู้บังคับหมวดทหารอากาศ สถาบันจิตวิทยาและความมั่นคง มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยวชิรพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกรมตำรวจ และอีกหลายสถาบัน โดยหลังเกษียณอายุราชการแล้ว รศ.สุนีย์ สินธุเดชะ ได้เข้ามารับหน้าที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต ตอนนี้ท่านอายุได้ 84 ปี แล้ว โดยท่านใช้ชีวิตเกษียณอย่างมีความสุข เราจึงไม่ค่อยเห็นท่านในสื่อมากนัก
ซึ่งล่าสุดทางกลุ่ม ภาพเก่าในอดีต ได้มีการโพสต์ภาพ อาจารย์แม่ ล่าสุดในการที่ท่านได้ฉลองวันเกิดในวัย 87 ที่ผ่านมา ซึ่งท่านก็ยังคงดูสุขภาพแข็งแรงอยู่
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2533 - Order of the Crown of Thailand - Special Class (Thailand) ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2530 - Order of the White Elephant - 1st Class (Thailand) ribbon.svg เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้น 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2529 - Chakrabarti Mala Medal (Thailand) ribbon.svg เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น