เพียงแค่ 7 ขั้นตอน “หุงข้าวเหนียว” แช่เย็นยังไงก็ไม่แข็ง ทิ้งค้างคืนก็ยังนุ่ม

 

เพียงแค่ 7 ขั้นตอน “หุงข้าวเหนียว” แช่เย็นยังไงก็ไม่แข็ง ทิ้งค้างคืนก็ยังนุ่ม

ในวันนี้หมู่เฮาจะมาบอกวิธีหารหุงข้าวเหนียว หุงยังไงไม่ให้แข็ง เป็นวิธีที่บ้านๆมา แต่หลายคนยังไม่เคยรู้ บอกเลยว่า ถ้าหากนำไปใช้ประกอบอาชีพแล้วละก็ ต้องต้องขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่าได้เลย วิธีนี้จะช่วยให้ข้าวเหนียวแข็งๆเคยเคยหุง กลับมานิ่มเหมือนหุงใหม่ๆเลย



ยิ่งถ้าได้หมูฝอย หรือไก่ทอดสักชิ้น พร้อมส้มตำปลาร้านี่นะ ไม่ต้องพูดถึงกันเลยทีเดียว ว่าจะมีความอร่อยมากแค่ไหน จะมีวิธีทำอย่างไรบ้าง ลองมาดูกันเลนะคะ

วิธีหุงข้าวเหนียว

1. นำข้าวเหนียวเก่า แช่น้ำนาน ประมาณ 6 ชม ส่วนข้าวเหนียวใหม่แช่น้ำนาน 3 ชม.



2. แช่เสร็จแล้วอย่าเอาน้ำแช่ข้าวทิ้งเด็ดขาดสำคัญมาก เค้าเรียกน้ำแช่ข้าวว่า “น้ำหม่า” เก็บใส่ชามแช่ตู้เย็นไว้



เสริมความรู้ : น้ำหม่า อันนี้เรียกว่าหัวเชื้อเอาไว้แช่ข้ามในวันต่อไปและนำส่วนที่เหลือเอามาพรมข้าวเหนียวนั่นเอง

บางเคล็ดลับโบราณที่ว่า คือเขาจะเอาน้ำหม่านี้ละเป็นหัวเชื้อ เทเติมตอนแช่ข้าวในวันต่อๆไป 1 ถ้วย อีก1ถ้วยจะเอาไว้พรม

บนข้าวเหนียวที่หุ้งในหวดใกล้ๆสุกแล้ว



3. หลังจากแช่ข้าวเหนียวเสร็จแล้วก็นำมาใส่หวดนึ่งปกติ พอข้าวเกือบจะ น้ำมาใส่หวดนึ่ง ตามปกติ



4. พอข้าวใกล้จะสุกแล้วนำน้ำหม่าที่เก็บไว้ในตู้เย็นมาพรมๆปริมาณ 1/3 ถ้วย แล้วใช้ไม้พายคนจากด้านล่างขึ้นบนทั่วๆเบาๆ



5. หรือจะทำวิธีแบบโบราณก็ได้คือกระดกหวดสัก 2-3 ครั้ง ให้ข้าวเหนียวในหวดผสมกันให้หมดและนึ่งต่อ



6. ทำแบบข้อที่ 5 ไปทั้งหมด 3 ครั้ง โดยกะปริมาณน้ำหม่าให้พอสำหรับ 3 ครั้ง และรอข้าวเหนียวสุกได้ที่



7. หลังจากสุกแล้ว ยกลงจากเตาห้ามเปิดฝาอย่างน้อย 15 นาที หลังจากนั้นก็จัดเก็บข้าวเหนียวตามปกติ



ง่ายๆ เพียงเท่านี้คุณก็จะได้ทานข้าวเหนียวที่อร่อย นุ่ม แช่ตู้เย็นนำกลับมากินใหม่ก็ยังคงความนุ่มไว้อยู่ ลองทำทานกันดูนะคะ ไม่ยากเลยใช่ไหม?


ประโยชน์ของข้าวเหนียว

– ช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง

– ช่วยบำรุงเลือดลม ช่วยขับลมในร่างกาย

– ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เนียนกระจ่างใสขึ้น

– ให้พลังงานสูง ทำให้อิ่มท้องได้นาน ไม่หิวง่าย

– มีฤทธิ์อุ่น ข่วยในการรักษาอุณหภูมิของร่างกายจากอากาศที่หนาวเย็นได้ดีเยี่ยม

– ช่วยชะลอความแก่ก่อนวัย ช่วยให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายไม่เสื่อมถอยไปก่อนเวลาอันควร

– ธาตุเหล็กกับกรดโฟลิกในข้าวเหนียว ช่วยในการสร้างเม็ดเลือด ทำให้เม็ดเลือดมีความสมบูรณ์

– ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาสมดุลและให้ความชุ่มชื้นภายในกระเพาะอาหาร

– ข้าวเหนียวมีโปรตีนเช่นเดียวกับข้าวเจ้า ซึ่งช่วยในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และมีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกาย

– ช่วยคลายเครียด ช่วยทำให้จิตใจสงบ ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และช่วยให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในระหว่างวันได้อย่างสดใสร่าเริง

– ในข้าวเหนียวมีวิตามินอี ที่ช่วยในการบำรุงการทำงานของระบบประสาทกับสมอง และช่วยในการป้องกันปัญหาวุ้นนัยน์ตาเสื่อมกับช่วยในการป้องกันอาการหลอดเลือดหัวใจตีบ

ขอขอบคุณ : Postsod, รักษ์สุขภาพ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำอธิษฐาน ถวายน้ำหน้าหิ้งพระ เสริมสิริมงคล ชีวิตเป็นสุขร่มเย็น

แจกสูตรทำ “น้ำยาล้างจาน” จากมะกรูดหลังบ้าน ดีจริง

วิธีการทำลอดช่อง สุดยอดขนมหวาน ทำทานกินเอง แบบไม่ง้อร้าน

แจกสูตรก๋วยเตี๋ยวเรือ งบลงทุนแค่หลักร้อย อร่อยจนทำขายแทบไม่ทัน

สูตรทำ "พะแนงเนื้อ" หอมกะทิและพริกแกง เผ็ดร้อนครบรส

วิธีทำ “หมี่กะทิสีชมพู” เมนูอาหารไทย เส้นหมี่สีชมพูแสนหวาน หอมมันอร่อยกลมกล่อม

ตามหาสูตรมานาน วิธีทำ“ปลาส้มตัวสูตรโบราณ” สูตรนี้เป็นสูตรที่สามารถทำรับประทานได้ง่ายๆที่บ้าน

สูตร “ขนมเปี๊ยะสายรุ้งไส้เผือก” สีสันสวยงาม ไส้เผือกหอมๆ แป้งนุ่มอร่อยมาก

แจกสูตรน้ำพริกกะปิ 4 สูตร อร่อยสุดยอด ชนิดที่ไม่ผิดหวังแน่นอน

เมนูสุดฟิน‼️หมูกรอบสูตรง่าย เร่งด่วน ไม่จิ้ม ไม่ตาก ไม่ต้ม ไม่แช่น้ำส้ม ไม่กลัวน้ำมันกระเด็น |ครัวแม่ผึ้ง