ธรรมชาติบำบัดได้ “เหยียบกะลา” ช่วยรักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
ธรรมชาติบำบัดได้ “เหยียบกะลา” ช่วยรักษาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
“เท้า” เรานั้นในทางการแพทย์จีนถือว่า เป็นจุดศูนย์รวมของสุขภาพ อ้าย บริเวณทั่วฝ่าเท้าจะมีจุดต่างๆเชื่อมโยงกับอวัยวะอยู่ทั้งหมด 62 จุด ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอวัยวะทุกส่วนของร่างกายของเรา โดยฝ่าเท้าซ้ายจะบ่งบอกถึงอวัยวะซีกซ้าย ส่วนเท้าข้างขวาจะบ่งบอกถึงอวัยวะข้างขวา
แพทย์จีนที่มีประสบการณ์สูงจะสามารถมองดูหน้าคนแล้วบอกลักษณะนิ้วหัวแม่เท้าได้ หรือดูลักษณะเท้าแล้วสามารถคาดเดาอาการได้ ดังนั้น การนวดกดจุดตำแหน่งต่างๆที่ฝ่าเท้า จึงสามารถใช้วินิจฉัยได้ว่าส่วนใดของร่างกายเกิดความผิดปกติขึ้น และสามารถใช้บำบัดอาการผิดปกติเหล่านั้นได้เช่นกัน
การนวดกดจุดสะท้อนที่ฝ่าเท้านี้ ถือเป็นสมบัติด้านการรักษาที่ทรงคุณค่าของชาวจีนมาอย่างยาวนาน และในปัจจุบันศาสตร์นี้ยังเป็นที่ยอมรับกันไปทั่วโลกอีกด้วย
ประโยชน์ของการนวดฝ่าเท้า
– ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบขับพิษและกำจัดของเสียโดยกระตุ้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด และน้ำเหลือง รวมทั้งกระตุ้นการเคลื่อนไหวของเม็ดเลือดขาว เสริมสร้างความแข็งแรงให้ระบบภูมิคุ้มกัน
– ช่วยทำให้การทำงานของร่างกายเกิดความสมดุล กระตุ้นการไหลเวียนของพลังชี่ (ลม) ให้เป็นไปโดยสะดวกไม่ติดขัด
– ช่วยลดความข้นหนืดของเลือด ทำให้เลือดสามารถไหลเวียนไปหล่อเลื้ยงได้ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะส่วนปลายของร่างกายอย่าง ศีรษะ ปลายมือ ปลายเท้า ช่วยลดอาการปวด-มึนศรีษะ ชาปลายมือ-ปลายเท้า และ ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ
– ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตใจ คือ ลดภาวะเครียดและทำให้เกิดการผ่อนคลายในระดับลึก
แต่นอกเหนือจากการนวด หากไม่มีเวลาหรือไม่มีร้านนวดใกล้ๆบ้าน ยังมีวิธีกดจุดกระตุ้นฝ่าเท้าที่ทำได้ง่ายด้วยตนเองทุกวันอยู่อีกอย่างหนึ่งคือ
การเหยียบกะลา
ถึงแม้ว่า การเหยียบกะลา จะไม่สามารถบำบัดได้ทั่วถึงทุกตำแหน่งบนเท้าได้เหมือนกับการนวดกดจุด แต่ก็เป็นวิธีที่ง่ายและทำได้เองที่บ้าน สามารถทำได้ทุกวัน หากเราใช้การเหยียบกะลาช่วยเวลาที่ไม่สามารถไปนวดฝ่าเท้าได้ ควบคู่กับการไปนวดฝ่าเท้าเมื่อมีเวลา ก็จะเป็นการดูแลรักษาสุขภาพพื้นฐานให้ดีอยู่เสมอ
ดังเช่นคุณยายเน้ย ปราชญ์ชาวบ้านท่านหนึ่งของจังหวัดชัยนาท ผู้ที่เป็นครูของทั้งอาจารย์และนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีชัยนาท คุณยายเป็นผู้คิดค้นท่านวดบำบัดตนเองด้วยกะลา ที่รู้จักกันดีว่าเป็น “การเหยียบกะลาแบบยายเน้ย”
แต่ก่อนคุณยายมีโรคประจำตัว ไม่แข็งแรง เคลื่อนไหวไม่สะดวก ต่อมาคุณยายเปลี่ยนวิถีชีวิตของตนลุกขึ้นมาช่วยตัวเอง เพราะสามีก็ตายไปแล้ว ไม่มีลูกหลาน คุณยายฟื้นตัวขึ้นมาได้เพราะกะลา โดยการใช้กะลาตั้งแต่ 1 คู่ 2 คู่ 5ใบ เหยียบ นั่งทับ หรือ นอนทับในท่าต่างๆ ที่ศึกษาและประยุกต์มาจากการกดจุดของแพทย์แผนโบราณ มีตั้งแต่ การยืนบนกะลา , การขยับฝ่าเท้าบนกะลา ให้ฝ่าเท้าสัมผัสกะลา ตั้งแต่ปลายเท้า จนถึงส้นเท้า ต้องเกาะกำแพงไว้ด้วยเพื่อไม่ให้ล้ม , การนั่งทับกะลา , การนอนบนกะลา เป็นต้น
ในปัจจุบัน การเหยียบกะลา นับเป็นวิธีหนึ่งที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่วนใหญ่เลือกนำมาใช้ร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบัน โดยรายงานจากผลการศึกษาทดลองกับกลุ่มผู้ป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหลายแห่งพบว่า การเหยียบกะลาสามารถฟื้นฟูผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้จริง ตัวอย่างเช่น รายงานจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาถูก จังหวัดสุรินทร์ จากผู้ป่วยเบาหวานที่เคยต้องทำแผลที่เท้าทุกวัน หลังจากที่ให้เหยียบกะลา แผลก็ค่อยๆดีขึ้น ลดการทำแผลลงได้มากถึง 75% และลดอาการชาลงเรื่อยๆ 25%
การเลือกกะลาที่จะใช้เหยียบ
– ควรเลือกกะลาที่มีก้นนูนพอสมควรเพื่อเท้าเราจะได้สัมมผัสกับส่วนที่นูน ทำให้เข้าถึงจุดต่างๆได้ลึกขึ้น
– ควรเลือกสถานที่ในการวางให้เหมาะสม กะลาควรวางในที่ที่แน่น ไม่คลอนแคลน ควรวางบนพื้นดินทราย หรือยึดติดกับพื้นพรม ไม่ควรวางบนพื้นปูนหรือพื้นที่แข็ง เพราะจะทำให้ลื่น เกิดอันตรายได้
– ก่อนขึ้นเหยียบกะลา ควรหาอุปกรณ์ในการยึดจับให้มั่น เพื่อป้องกันการล้ม
– ผู้ป่วยที่ยังทรงตัวหรือยืนไม่ถนัด ควรให้นั่งเก้าอี้เหยียบกะลาก่อน แล้วค่อยๆ พัฒนาเป็นการยืนต่อไป
วันไหนว่างๆ ลองหากะลาซัก 2-3ใบ เอาไว้เหยียบเล่นๆ วันละ 10-15 นาที ทำให้ต่อเนื่องประมาณ 1-2เดือน ท่านอาจจะได้หน้าใสๆไร้สิว ผิวสวยๆ ระบบขับถ่ายดีๆ และสุขภาพที่แข็งแรงเป็นของแถม…ก็เป็นได้
ขอขอบคุณ : นานาสาระเพื่อสุขภาพที่ดี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น