เตือนเเล้วนะ! ดื่มน้ำมากเกินไป อันตรายถึงชีวิต

 

หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า การดื่มน้ำเป็นสิ่งสำคัญต่อระบบการทำงานของร่างกาย ทั้งช่วยลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย รักษาระดับความดันโลหิต ช่วยในการย่อยอาหาร ป้องกันการเกิดอาการท้องผูก และประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย

อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำในปริมาณที่มากเกินพอดีอาจส่งผลให้เซลล์ในร่างกายเกิดอาการบวม และระดับแร่ธาตุในร่างกายเกิดการเจือจางและเสียสมดุล โดยเฉพาะโซเดียม ซึ่งอาจนำไปสู่อาการผิดปกติทางร่ายกายตามมา



สัญญาณที่บ่งบอกว่ากำลังดื่มน้ำมากเกินไป

-ลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น และปัสสาวะเริ่มเปลี่ยนสี
การลุกไปเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้นถือเป็นสัญญาณแรก ๆ ที่กำลังบ่งบอกถึงการดื่มน้ำที่มากเกินไป โดยจำนวนการเข้าห้องน้ำในหนึ่งวันจะเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6-8 ครั้งต่อวัน และสัญญาณอีกอย่างที่มักพบได้เมื่อดื่มน้ำมากเกินไปคือ สีของปัสสาวะเปลี่ยนเป็นสีใส ซึ่งสีของน้ำปัสสาวะในสภาวะที่ร่างกายเป็นปกติหรือได้รับน้ำที่เพียงพอ ควรจะเป็นสีเหลืองใสอ่อน ๆ

-พบอาการผิดปกติบางอย่างทางร่างกาย
การดื่มน้ำในปริมาณมากมักไม่พบอาการผิดปกติในช่วงแรก แต่หากยังดื่มน้ำปริมาณมากอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ไตไม่สามารถขับน้ำออกไปได้หมด และอาจเกิดอาการผิดปกติ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย รวมถึงทำให้ไตทำงานหนักขึ้นจนร่างกายเกิดความเครียดและอาการอ่อนเพลียตามมา

อย่างที่ได้กล่าวไปว่าการดื่มน้ำมากเกินไปอาจส่งผลให้เซลล์ในร่างกายมีน้ำไปสะสมอยู่จนเกิดอาการบวม ซึ่งภาวะดังกล่าวอาจนำไปสู่อาการผิดปกติบางอย่างได้ เช่น อาการมึนงง สับสน ปวดศีรษะ และง่วงซึมจากการที่เซลล์ในสมองบวมจนสมองได้รับแรงกดทับ หรือบริเวณริมฝีปาก เท้า และมือ มีอาการบวมและเปลี่ยนสีไปจากการที่เซลล์บริเวณดังกล่าวบวม

นอกจากนี้ การดื่มน้ำที่มากเกินไปอาจส่งผลให้ระดับแร่ธาตุในร่างกายลดลงผิดปกติ โดยเฉพาะโซเดียม ส่งผลให้เกิดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อหรือตะคริว ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอาจนำไปสู่ภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ (Hyponatremia) และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการชัก สูญเสียการรับรู้รอบตัว โคม่าไปจนถึงการเสียชีวิตได้



ดื่มน้ำมากเกินไปไม่เป็นผลดี แล้วควรดื่มน้ำปริมาณเท่าไร

การดื่มน้ำควรอยู่ในปริมาณที่พอดีต่อความต้องการของร่างกาย ไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไปหรือดื่มน้ำน้อยเกินไป โดยปริมาณการดื่มน้ำที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น กิจกรรมที่ทำ เพศ น้ำหนักตัว และสภาพอากาศที่อาศัยอยู่ เป็นต้น

ในเบื้องต้นอาจลองคำนวณปริมาณการดื่มน้ำที่เหมาะสมได้จากการนำน้ำหนักตัวหน่วยเป็นกิโลกรัมหารด้วย 30 ก็จะได้ปริมาณน้ำหน่วยเป็นลิตรที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน ตัวอย่างเช่น หากน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ก็ควรจะดื่มน้ำให้ได้ประมาณวันละ 1.66 ลิตรต่อวัน

อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เสียเหงื่อมากเป็นประจำ สตรีมีครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร มีไข้ มีอาการอาเจียน ท้องเสีย กำลังป่วยเป็นโรคบางชนิด และคนที่ออกกำลังกาย ควรดื่มน้ำให้มากกว่าปกติเล็กน้อยหรือดื่มตามคำแนะนำของแพทย์
ทั้งนี้ แม้จะคำนวณปริมาณการดื่มน้ำที่เหมาะสมอย่างคร่าว ๆ ในแต่ละวันมาแล้ว แต่ควรแบ่งปริมาณการดื่มน้ำในระหว่างวันให้เหมาะสม โดยอาจสังเกตจากสัญญาณของร่างกาย อย่างความรู้สึกกระหายน้ำ ซึ่งการดื่มน้ำที่ดีควรจิบทีละน้อยตลอดทั้งวัน ไม่ควรดื่มน้ำมากเกินไปในเวลาสั้น ๆ หรือดื่มน้ำมากกว่า 1 ลิตรภายใน 1 ชั่วโมงติดต่อกัน



เครดิตแหล่งข้อมูล : Pobpad

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำอธิษฐาน ถวายน้ำหน้าหิ้งพระ เสริมสิริมงคล ชีวิตเป็นสุขร่มเย็น

แจกสูตรทำ “น้ำยาล้างจาน” จากมะกรูดหลังบ้าน ดีจริง

วิธีการทำลอดช่อง สุดยอดขนมหวาน ทำทานกินเอง แบบไม่ง้อร้าน

แจกสูตรก๋วยเตี๋ยวเรือ งบลงทุนแค่หลักร้อย อร่อยจนทำขายแทบไม่ทัน

สูตรทำ "พะแนงเนื้อ" หอมกะทิและพริกแกง เผ็ดร้อนครบรส

วิธีทำ “หมี่กะทิสีชมพู” เมนูอาหารไทย เส้นหมี่สีชมพูแสนหวาน หอมมันอร่อยกลมกล่อม

ตามหาสูตรมานาน วิธีทำ“ปลาส้มตัวสูตรโบราณ” สูตรนี้เป็นสูตรที่สามารถทำรับประทานได้ง่ายๆที่บ้าน

สูตร “ขนมเปี๊ยะสายรุ้งไส้เผือก” สีสันสวยงาม ไส้เผือกหอมๆ แป้งนุ่มอร่อยมาก

แจกสูตรน้ำพริกกะปิ 4 สูตร อร่อยสุดยอด ชนิดที่ไม่ผิดหวังแน่นอน

เมนูสุดฟิน‼️หมูกรอบสูตรง่าย เร่งด่วน ไม่จิ้ม ไม่ตาก ไม่ต้ม ไม่แช่น้ำส้ม ไม่กลัวน้ำมันกระเด็น |ครัวแม่ผึ้ง