หายสงสัย!! รวม 7 อาหาร ที่เคยกินมา "ทั้งชีวิต" เเต่ไม่รู้ที่มา...มันคืออะไร!!

 

หลายคนอาจจะสงสัยว่าเอ๊ะ! สิ่งที่เรากินๆอยู่ทุกวันทำไมชื่อเรียกมันไม่เห็นจะเข้ากับรูปลักษณ์ของตัวมันเองแต่เค้าเรียกมายังไง ทุกคนคนก็เรียกต่อๆไปแบบนั้นโดยที่เรียกแบบที่ก็ไม่รู้ว่าที่มาของสิ่งๆนั้นมันมาจากไหน ทำไมเค้าถึงเรียกแบบนี้ เช่น ซีอิ๋วขาว แต่ทำไมสีดำ เป็นต้น วันนี้เราเลยมีคำตอบรวม 5 อาหาร ที่เคยกินมา "ทั้งชีวิต" เเต่ไม่รู้ที่มา...มันคืออะไร !! ไปดูกัน?

ภาพจาก pixabay.com,cdn.pixabay.com

1. มะม่วงมีสีเขียวกับเหลือง แต่ทำไมถึงเรียกว่ามะม่วง



หนึ่งในข้อสันนิษฐานที่ชัดเจนที่สุด น่าจะมาจากการเลียนเสียงภาษามาลายู คำว่า Manga ว่า "หมากมางกา" โดยคนไทยสมัยก่อนเรียกผลไม้ที่มีคำนำว่าว่า "มะ" เป็นคำว่า "หมาก" หลังจากนั้นจึงเพี้ยนเสียงมาเรื่อยๆ จนมาเป็นมะม่วงจนถึงปัจจุบันนี้

.

.

ภาพจาก pixabay.com

2.ขนมจีน ไม่ใช่ขนม และก็ไม่ใช่ของประเทศจีน

ทำไมมันถึงกลายเป็นขนมจีนไปได้ ข้อสันนิษฐานที่ชัดเจนที่สุดคือ ขนมจีน น่าจะมาจากภาษามอญ โดยคนมอญเรียกขนมจีนว่า "คนอมจิน" เลยพูดผิดเพี้ยนกลายเป็นขนมจีน จนมาถึงปัจจุบัน

.

.



ภาพจาก www.flickr.com

3.ข้าวซอย ไม่ใช่ข้าว

มี 2 ข้อสันนิษฐานถึงที่มาของชื่อข้าวซอย ข้อแรกคือมาจากกรรมวิธีในการทำเส้น ด้วยการนำแป้งข้าวสาลี ไข่ เกลือ น้ำ มาผสมกันและนวดจนเข้ากันดี แล้วกดรีดให้เป็นแผ่น จากนั้นก็เอามีดมาซอยแผ่นแป้งให้เป็นเส้นๆ เหมือนเอาข้าว (แป้ง) มาซอยจนกลายเป็นข้าวซอย ส่วนอีกข้อคือข้าวซอยเป็นอาหารของชาวเมียนมาร์ที่เรียกว่า "เค่าซแว" และถูกเรียกเพี้ยนกันมาจนเป็น "ข้าวซอย" ในที่สุด

.

.

ภาพจาก pixabay.com

4.ส้มตำ แต่ไม่ได้เอาส้มมาตำ ทำไมเป็นมะละกอ

ส้มตำถือเป็นอาหารยอดฮิตที่เติบโตมาจากทางภาคอีสาน ซึ่งคำว่า "ส้ม" เป็นภาษาถิ่นที่หมายถึงรสเปรี้ยว ส่วน "ตำ" ก็คือการตำแบบที่เราเข้าใจ ดังนั้นคำว่าส้มตำ จึงหมายถึง การตำอาหารรสเปรี้ยว ซึ่งมะละกอดิบ ถือเป็นตัวเลือกอันดับแรกสำหรับในการหยิบมาตำให้มีรสเปรี้ยวนั่นเอง ส่วนอาหารชนิดอื่นที่เชื่อมโยงคำว่าส้มกับรสเปรี้ยวก็ได้แก่ แกงส้ม ปลาส้ม หมูส้ม และน้ำส้มสายชู

.

.

ภาพจาก www.flickr.com

5.ไข่เยี่ยวม้า แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเยี่ยวม้า

บางที่ก็อ้างอิงไปถึงตำนานเรื่องเล่าของจีน เกี่ยวกับชาวนาที่พบไข่เป็ดถูกฝังอยู่ในแกลบและฟางที่ใช้กลบมูลม้านานหลายเดือนโดยไม่เน่าเสีย แถมยังมีรสชาติดีอีกด้วยแต่ในความเป็นจริงชาวจีนก็ไม่ได้เรียกมันว่าไข่เยี่ยวม้า ส่วนคนไทยที่เรียกแบบนี้ อาจเพราะสีของไข่แดงเป็นสีขี้ม้า และมีกลิ่นของแอมโมเนียที่เหมือนฉี่เพราเหตุนี้จึงเรียกไข่นี้ว่า ไข่เยี่ยวม้า

.

.

ภาพจาก www.youtube.com



6.ทำไมเรียกพริกเกลือ ทั้งๆ ที่มีน้ำตาลเพียบ

ในสมัยก่อน เครื่องจิ้มผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจะมีแต่พริกกะเกลือเท่านั้น ไม่ได้ใส่น้ำตาลเพราะการผลิตน้ำตาลทรายได้เกิดขึ้นมาภายหลัง และเมื่อน้ำตาลแพร่หลายมากขึ้นคนยุคใหม่ก็ติดน้ำตาล จึงมีการใส่น้ำตาลลงไปในพริกกะเกลือ เพื่อให้รสหวานเป็นตัวนำ แต่ก็ยังคงเรียกว่าพริกเกลือเหมือนเดิม

.

.

ภาพจาก th.openrice.com

7.ซีอิ๊วขาว ทำไมสีดำ

ตามปกติของการหมักถั่วเหลือง น้ำซีอิ๊วที่ได้จะเป็นสีดำ แต่น้ำซีอิ๊วขาวจะมีความใสกว่าซีอิ๊วดำ และเวลาเหยาะใส่อาหารต่างๆ จะไม่ค่อยทำให้อาหารเปลี่ยนสีไปมากนัก เหมือนกับใส่สีขาวลงไป ต่างจากซีอิ๊วดำที่ใส่ไปแล้วจะเป็นสีดำทันที

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำอธิษฐาน ถวายน้ำหน้าหิ้งพระ เสริมสิริมงคล ชีวิตเป็นสุขร่มเย็น

แจกสูตรทำ “น้ำยาล้างจาน” จากมะกรูดหลังบ้าน ดีจริง

เก็บไว้ทำ 2 สูตร ทอดปาท่องโก๋ กรอบนาน ทำขายลูกค้าติดใจ

วิธีการทำลอดช่อง สุดยอดขนมหวาน ทำทานกินเอง แบบไม่ง้อร้าน

สูตรทำ "พะแนงเนื้อ" หอมกะทิและพริกแกง เผ็ดร้อนครบรส

แจกสูตรทำซุปหอมแดงขิง กินป้องกันการสูญเสียการมองเห็น ชามือ-เท้า

แจกสูตรก๋วยเตี๋ยวเรือ งบลงทุนแค่หลักร้อย อร่อยจนทำขายแทบไม่ทัน

วิธีทำ “หมี่กะทิสีชมพู” เมนูอาหารไทย เส้นหมี่สีชมพูแสนหวาน หอมมันอร่อยกลมกล่อม

สูตร “ขนมเปี๊ยะสายรุ้งไส้เผือก” สีสันสวยงาม ไส้เผือกหอมๆ แป้งนุ่มอร่อยมาก

ตามหาสูตรมานาน วิธีทำ“ปลาส้มตัวสูตรโบราณ” สูตรนี้เป็นสูตรที่สามารถทำรับประทานได้ง่ายๆที่บ้าน