ไขปริศนา วุ้นเส้น ต้องล้างก่อนทำไหม โซเชียลถกสนั่น... ที่แท้เส้นผมบังภูเขา !

 

 คนโพสต์ถาม วุ้นเส้นยี่ห้อดัง ก่อนทำอาหารต้องล้างออกไหม งานนี้โซเชียลถกสนั่น บางคนไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต้องล้าง เรื่องเล็ก ๆ ที่พอมาตั้งคำถามแล้วก็ได้แต่คิดว่า...เออ...นั่นสิ งานนี้มีเฉลย รู้ได้เลยไม่ใกล้ไม่ไกล

วุ้นเส้น


          เรียกได้ว่าเป็นคำถามที่หลาย ๆ คนก็นึกไม่ถึงด้วยซ้ำ เมื่อเฟซบุ๊ก Tana Bee ได้โพสต์ภาพและข้อความลงกลุ่มงานบ้านที่รัก เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 เป็นภาพวุ้นเส้นยี่ห้อดัง พร้อมถามว่า "สอบถามนอกเรื่องหน่อยคับ อันนี้เกี่ยวกับงานบ้านป่าวไม่รู้ วุ้นเส้นแบบนี้ ซื้อมาเวลาจะเอามาทาน ต้องล้างก่อนมั้ยคับ" งานนี้หลายคนถึงกับเข้ามางุนงง เพราะบางคนก็แทบไม่เคยล้างเลย และไม่เคยสังเกตเลยด้วยควรล้างก่อน บางคนก็บอกว่าล้าง เพราะกลิ่นเหม็นมาก


          อย่างไรก็ตาม คำแนะนำเกี่ยวกับการปรุงอาหารด้านหลังซองของวุ้นเส้นระบุชัดเจนว่า "ล้างเส้นด้วยน้ำสะอาดก่อนนำไปปรุงอาหาร"

โพสต์


          ทั้งนี้ เพจเคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว เคยให้ความรู้เกี่ยวกับวุ้นเส้นสดว่า  ปกติอาหารที่เป็นวุ้นเส้นสด เส้นหมี่สดนั้นจะมีการเติมสารประกอบ sulfite อยู่แล้ว เพื่อต้านการหืน และป้องกันการเกิดออกซิเดชั่นที่เป็นสาเหตุทำให้อาหารเน่าเสีย และกำจัดสารนี้ได้โดยการล้างออก หรือลวกทิ้งก่อนนำมาทำอาหาร

          สำหรับสารดังกล่าวมีเอกลักษณ์คือเมื่อโดนความชื้นหรือน้ำร้อน หรือมีสภาวะที่เป็นกรดจะส่งกลิ่นเหม็นฉุนเฉียวของแก๊ส Sulfur dioxide (SO₂) ออกมา ปกติแล้วพิษของก๊าซ SO₂ ในปริมาณ 8 ppm (ส่วนในล้านส่วน) จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองของระบบหายใจ และในปริมาณ 20 ppm จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองตา เป็นสารก่อภูมิแพ้ (food allergen) ถ้ารับประทานเข้าไปไม่มาก ร่างกายก็สามารถขับออกทางปัสสาวะได้ แต่ถ้ามีมากเกินไปจะมีผลไปลดประสิทธิภาพการใช้โปรตีน และไขมันในร่างกายของคนเราและมีฤทธิ์ทำลายวิตามิน B1 ด้วย
โดยถ้า SO₂ สะสมในร่างกายมาก ๆ อาจทำให้หายใจ ติดขัด ปวดท้อง ท้องร่วง เวียนศีรษะ อาเจียน หมดสติ และอาจตายได้ในผู้ที่แพ้มากหรือเป็นหอบหืด

วุ้นเส้น


          เนื่องจากสารในกลุ่ม sulfite นั้นมีพิษและเป็นสารก่อภูมิแพ้ จาก #พระราชบัญญัติอาหารของกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดการใช้เกลือซัลไฟต์/ เกลือไบซัลไฟต์ของโซเดียมและโพแทสเซียมเป็นอาหารควบคุมเฉพาะ ต้องมีคุณภาพเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร(ฉบับที่ 4) และได้กำหนดปริมาณการใช้ของสารดังกล่าวในอาหารบางชนิด ได้แก่ น้ำตาลทราย น้ำตาลมะพร้าว วุ้นเส้น เส้นหมี่ เส้นก๋วยเตี๋ยว แอพริคอตแห้ง ลูกเกต กุ้งเยือกแข็ง เนื้อกุ้งดิบ ฯลฯ โดยที่องค์การอนามัยโลกกำหนดค่าความปลอดภัยไว้ คือ ปริมาณที่ได้รับต้องไม่เกิน 0.7 มิลลิกรัม/คน/วัน

          ดังนั้นก่อนที่จะทำอาหารที่มีการถนอมคุณภาพด้วย sulfite นั้นจึงควรทำการลวกทิ้งด้วยน้ำเดือด หรือล้างทิ้งด้วยน้ำประปาก็สามารถลดปริมาณ sulfite ได้ดีเลย อย่าถึงขนาดต้องแกะจากห่อแล้วนำมารวนหรือผัดเลยทันทีเลยนะ

คอมเมนต์

คอมเมนต์

คอมเมนต์

คอมเมนต์

คอมเมนต์

คอมเมนต์

คอมเมนต์

คอมเมนต์

คอมเมนต์

คอมเมนต์

คอมเมนต์

คอมเมนต์


ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Tana Bee เฟซบุ๊ก เคมีฟิสิกส์ของสิ่งทอ อาหาร และของรอบตัว

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำอธิษฐาน ถวายน้ำหน้าหิ้งพระ เสริมสิริมงคล ชีวิตเป็นสุขร่มเย็น

แจกสูตรทำ “น้ำยาล้างจาน” จากมะกรูดหลังบ้าน ดีจริง

เก็บไว้ทำ 2 สูตร ทอดปาท่องโก๋ กรอบนาน ทำขายลูกค้าติดใจ

แจกสูตรทำซุปหอมแดงขิง กินป้องกันการสูญเสียการมองเห็น ชามือ-เท้า

วิธีทำ “หมี่กะทิสีชมพู” เมนูอาหารไทย เส้นหมี่สีชมพูแสนหวาน หอมมันอร่อยกลมกล่อม

เก็บไว้ทำ กุยช่ายสูตรทำง่าย แป้งสดนิ่มนาน น้ำจิ้มครบรสอร่อย

วิธีการทำลอดช่อง สุดยอดขนมหวาน ทำทานกินเอง แบบไม่ง้อร้าน

สูตรทำ "พะแนงเนื้อ" หอมกะทิและพริกแกง เผ็ดร้อนครบรส

หมูกรอบ เมนูหม้อทอดไร้น้ำมัน ไม่ต้มไม่จิ้มหนังแต่กรอบมาก

แจกสูตรก๋วยเตี๋ยวเรือ งบลงทุนแค่หลักร้อย อร่อยจนทำขายแทบไม่ทัน