เวียนบ่อย บ้านเอียง ระวังโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

 

หากพูดถึงโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัวและน่าจะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว โรคนี้สามารถพบได้ทุกเพศทุกวัย โดยมักจะเป็นในช่วงอายุระหว่าง 30 ? 60 ปี แถมยังถือเป็นอันดับ 2 ของสาเหตุอาการเวียนศีรษะในช่วงวัยนี้ทั้งเพศชายและเพศหญิงอีกด้วย โดยโรคน้ำในหูไม่เท่ากันหรือ โรคเมเนียส์นี้ ความจริงแล้วก็คือโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติของหูชั้นใน ซึ่งทำให้มีน้ำในหูชั้นในมากกว่าปกติและส่งผลต่อเนื่องให้เกิดอาการเวียนศีรษะและส่งผลต่อการได้ยิน ถือเป็นโรคที่พบได้ค่อนข้างบ่อยทีเดียวในปัจจุบัน ซึ่งใครที่รู้สึกว่าตัวเองมีอาการวิงเวียนบ่อยๆ โดยไม่ทราบสาเหตุ ลองมาเช็กร่างกายกับสัญญาณโรคน้ำในหูไม่เท่ากันที่เรา นำมาฝากก่อนดีกว่าค่ะ

1. วิงเวียนบ้านหมุน

ความจริงแล้วอาการวิงเวียนนั้น ถือเป็นอาการที่สามารถเชื่อมโยงได้กับหลายโรค แต่หากอาการเวียนหัวของคุณมาพร้อมกับความรู้สึกคล้ายบ้านหมุนจนไม่สามารถทรงตัวอยู่ได้นั้น อาจมีสาเหตุมาจากหูชั้นในซึ่งมีส่วนสำคัญในการควบคุมการทรงตัวของร่างกาย ซึ่งอาการแบบนี้จะเป็นอันตรายอย่างมากในกรณีที่เกิดขึ้นกะทันหันในเวลาที่กำลังเดินทางหรือขับรถอยู่ค่ะ

2. คลื่นไส้

อาการคลื่นไส้นั้น โดยปกติมักจะมาพร้อมกับโรคที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร อย่างไรก็ตาม อาการน้ำในหูไม่เท่ากันก็สามารถส่งผลให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้เช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะมาพร้อมกับอาการเวียนหัวบ้านหมุน อย่างไรก็ตาม การแพทย์มักจะให้ยาแก้อาเจียนเพื่อรักษาอาการเบื้องต้นนี้เช่นเดียวกัน เนื่องจากการรักษาโรคน้ำในหูอาจต้องใช้การรักษาที่ต่อเนื่อง รวมไปกับการใช้ยาเพื่อบรรเทาตามอาการค่ะ

3. เหงื่อออกมาก

ถือเป็นอีกหนึ่งอาการที่มักเกิดขึ้นควบคู่ไปกับอาการอื่นๆ ของโรคนี้ โดยผู้ป่วยมักมีเหงื่อออกเยอะแม้จะไม่ได้อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศร้อน โดยเฉพาะในช่วงที่มีอาการเวียนหัวร่วมและคลื่นไส้ร่วมด้วย

4. หูอื้อ

อาการนี้เกิดจากประสาทหูที่เสื่อมไป โดยผู้ป่วยมักมีภาวะประสาทการได้ยินผิดปกติซึ่งก่อให้เกิดอาการหูอื้อ ได้ยินไม่ค่อยชัด และรู้สึกแน่นในหูแบบเป็นๆ หายๆ ซึ่งในขั้นนี้หากไม่ได้รับการรักษา ประสาทการได้ยินเสียงก็จะแย่ลงเรื่อยๆ จนถึงขั้นหูหนวกได้ โดยความผิดปกตินี้อาจเกิดขึ้นกับหูข้างเดียวก่อนในระยะแรก และอาจลามมาเป็นทั้งสองข้างได้เช่นกัน

5. มีเสียงดังในหูคล้ายกับแมลงร้อง

นอกจากอาการหูอื้อแล้ว ผู้ป่วยยังอาจมีอาการเสียงดังในหูข้างที่ผิดปกติ ร่วมกับมีอาการตึงๆ ภายในหูคล้ายกับมีแรงดันเกิดขึ้นข้างใน โดยบางครั้งได้ยินคล้ายเสียงแมลงร้องจนทำให้คิดไปเองว่าอาจมีแมลงเข้าหู

6. เริ่มมีปัญหาการได้ยิน

เนื่องจากหูชั้นในที่ทำหน้าที่ในการรับเสียงมีปัญหา จึงอาจส่งผลต่อการได้ยินด้วย ซึ่งปัญหาที่จะตามมาจากอาการหูอื้อและได้ยินเสียงในหู ก็คือความสามารถในการได้ยินที่เบาลง ซึ่งจำเป็นต้องรีบเข้าพบแพทย์เพื่อรักษาไม่เช่นนั้นอาจมีอาการกำเริบจนถึงขั้นไม่ได้ยินเสียงเลยก็เป็นได้


7. ควบคุมการทรงตัวไม่ได้

เนื่องจากหูชั้นในซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทรงตัวมีน้ำอยู่มากกว่าปกติ จึงทำให้ผู้ป่วยอาจมีอาการเซล้ม และทรงตัวไม่ค่อยได้ โดยอาการนี้อาจเกิดขึ้นพร้อมกับอาหารเวียนหัว ซึ่งอาจมีอาการเพียงครั้งคราวและกลับมาเป็นใหม่ แต่หากโรคกำเริบมากขึ้นก็จะเป็นบ่อยขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน

หากใครลองเช็กลิสต์อาการและพบว่าตรงกับตัวเองมากกว่า 3 ข้อขึ้นไปแล้ว ไม่ควรนิ่งนอนใจค่ะ เพราะโรคนี้หากเป็นมากอาจถึงขั้นทำให้สูญเสียการได้ยินได้ ทางที่ดีควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง รวมทั้งรับคำแนะนำที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้อาการของโรคกำเริบมากขึ้นด้วยค่ะ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำอธิษฐาน ถวายน้ำหน้าหิ้งพระ เสริมสิริมงคล ชีวิตเป็นสุขร่มเย็น

แจกสูตรทำ “น้ำยาล้างจาน” จากมะกรูดหลังบ้าน ดีจริง

วิธีการทำลอดช่อง สุดยอดขนมหวาน ทำทานกินเอง แบบไม่ง้อร้าน

แจกสูตรก๋วยเตี๋ยวเรือ งบลงทุนแค่หลักร้อย อร่อยจนทำขายแทบไม่ทัน

สูตรทำ "พะแนงเนื้อ" หอมกะทิและพริกแกง เผ็ดร้อนครบรส

วิธีทำ “หมี่กะทิสีชมพู” เมนูอาหารไทย เส้นหมี่สีชมพูแสนหวาน หอมมันอร่อยกลมกล่อม

ตามหาสูตรมานาน วิธีทำ“ปลาส้มตัวสูตรโบราณ” สูตรนี้เป็นสูตรที่สามารถทำรับประทานได้ง่ายๆที่บ้าน

สูตร “ขนมเปี๊ยะสายรุ้งไส้เผือก” สีสันสวยงาม ไส้เผือกหอมๆ แป้งนุ่มอร่อยมาก

แจกสูตรน้ำพริกกะปิ 4 สูตร อร่อยสุดยอด ชนิดที่ไม่ผิดหวังแน่นอน

เมนูสุดฟิน‼️หมูกรอบสูตรง่าย เร่งด่วน ไม่จิ้ม ไม่ตาก ไม่ต้ม ไม่แช่น้ำส้ม ไม่กลัวน้ำมันกระเด็น |ครัวแม่ผึ้ง