อย่าเข้าใจผิด!! "โอเลี้ยง" กับ "อเมริกาโน่" กาแฟดำเหมือนกันแต่ที่จริงไม่เหมือนกัน!!

 

ถ้าเปรียบเทียบร้านกาแฟโบราณกับร้านกาแฟสากลตามห้างร้าน เรามักจะพบว่าเมนูบางอย่าง แม้ชื่อจะต่าง แต่ลักษณะคล้ายกันไม่ผิดเพี้ยน ยกตัวอย่างเช่นอเมริกาโน่กับโอเลี้ยง ที่ทุกคนต่างก็รู้ว่าทั้งสองแบบก็คือกาแฟดำ ไม่ใส่น้ำตาลเหมือนกัน แล้วมันแตกต่างกันยังไงล่ะนั่น มาหาคำตอบไปพร้อมกับ Gangbeauty เลยดีกว่าจ้ะ!

Youtube @Pailin"s Kitchen

           ต้นกำเนิดของโอเลี้ยง มาจากจีนแต้จิ๋ว โดย "โอ" แปลว่าดำ ส่วน "เลี้ยง" แปลว่าเย็น ดังนั้นมันจึงหมายถึงเครื่องดื่มสีดำและเย็นอย่างที่เราเห็นกันทุกวันนี้ โดยส่วนผสมหลักของโอเลี้ยงก็คือกาแฟเหมือนอเมริกาโน่นี่ล่ะ แต่เป็นผงกาแฟที่ได้จากการนำเมล็ดกาแฟไปคั่วรวมกับเมล็ดข้าวโพด มะขามคั่ว และอื่นๆ จากนั้นก็บดเป็นผงไว้ชงให้ลูกค้า

foreveryhealth.blogspot.com

           จุดน่าสนใจของโอเลี้ยงคือในระหว่างการคั่วเมล็ดกาแฟรวมกับเมล็ดต่างๆ ตามสูตร จะมีการเติมน้ำเชื่อมและเนยลงไปในกระทะด้วย ทำให้โอเลี้ยงที่แท้จริงจะแอบมีกลิ่นหอมแฝง คล้ายคาราเมลปะปนมาเล็กๆ ซึ่งเมื่อนำไปชงใส่น้ำแข็ง ก็จะเรียกว่าโอเลี้ยง แต่ถ้าไม่ใส่น้ำแข็ง จิบกันแบบร้อนๆ อันจะมีกลิ่นหอมมากกว่า ก็จะเรียกว่าโอยั๊วะนั่นเอง

pixabay.com

           ในขณะที่อเมริกาโน่แบบสากล เป็นกาแฟที่ได้จากเมล็ดกาแฟคั่วบดล้วนๆ ไม่มีเมล็ดอื่นและการเติมน้ำเชื่อมผสมลงไป ความต่างของมันจึงเป็นเรื่องของรสชาตินั่นเอง ถึงแม้ว่าจะวางอเมริกาโน่กับโอเลี้ยงติดกัน สีเหมือนกัน ก็ไม่ต้องกลัวจะแยกไม่ออกอีกแล้วล่ะ

www.flickr.com

สายไหนไม่เคยลองแบบไหนก็คงต้องลองดูสักหน่อยแล้วล่ะ!

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำอธิษฐาน ถวายน้ำหน้าหิ้งพระ เสริมสิริมงคล ชีวิตเป็นสุขร่มเย็น

แจกสูตรทำ “น้ำยาล้างจาน” จากมะกรูดหลังบ้าน ดีจริง

เก็บไว้ทำ 2 สูตร ทอดปาท่องโก๋ กรอบนาน ทำขายลูกค้าติดใจ

แจกสูตรทำซุปหอมแดงขิง กินป้องกันการสูญเสียการมองเห็น ชามือ-เท้า

วิธีทำ “หมี่กะทิสีชมพู” เมนูอาหารไทย เส้นหมี่สีชมพูแสนหวาน หอมมันอร่อยกลมกล่อม

เก็บไว้ทำ กุยช่ายสูตรทำง่าย แป้งสดนิ่มนาน น้ำจิ้มครบรสอร่อย

วิธีการทำลอดช่อง สุดยอดขนมหวาน ทำทานกินเอง แบบไม่ง้อร้าน

สูตรทำ "พะแนงเนื้อ" หอมกะทิและพริกแกง เผ็ดร้อนครบรส

หมูกรอบ เมนูหม้อทอดไร้น้ำมัน ไม่ต้มไม่จิ้มหนังแต่กรอบมาก

แจกสูตรก๋วยเตี๋ยวเรือ งบลงทุนแค่หลักร้อย อร่อยจนทำขายแทบไม่ทัน