เก็บเงินเท่ าไหร่ “ก็ไม่อยู่” เงิ นไม่พอใช้ “ติดๆขั ดๆ” ลองดูวิธีเเ ก้ง่ายๆ
เก็บเงินเท่าไหร่ “ก็ไม่อยู่” เงินไม่พอใช้ “ติดๆขัดๆ” ลองดูวิธีเเก้ง่ายๆ
การเอาเปรียบใครมา เป็นวิบากกรรม หาได้มาก็มีเรื่องต้องจ่าย ทำอะไรติดขัดไม่ราบรื่น พบกับอุปสรรคต่างๆ ทำอะไรก็ไม่ขึ้น หยิบจับอะไรเป็นเสียหาย ไร้คนช่วยเหลือมองไปทางไหนก็มืดมน วันนี้เราได้นำวิธีแก้กรรมมาให้ได้ดูกัน สำหรับหลายๆคนที่ยังไม่รู้
1.บาตรพระในบาตร ให้ใส่ข้าวสาร ชนิดที่ดีที่สุด
ใส่เต็ม ให้ใช้ถุงพลาสติกห่อ ก่อนใส่ในบาตรด้วย ไม่งั้น เวลาพระเปิดฝาบาตรข้าวสารจะหก เก็บลำบาก อานิสงส์ที่จะได้รับ ได้อานิสงส์ กินไม่หมด ไม่อดอยาก เรื่องทำมาหากินเลย เพราะพระท่านได้ใช้บิณฑบาตร ทุกๆวัน กับข้าวชนิดไหน ที่เขาใส่บาตร เราจะได้ทั้งหมด ข้าวสารในบาตร จะได้ใช้หนี้กรรม ให้นายเวร ที่เขาจองเวรเรา ข้าวสารหนึ่งเม็ด คูณอานิสงส์ ในพระพุทธศาสนา ได้อานิสงส์ คืนมาเป็นล้านๆ เม็ด ต่อ ข้าวสาร 1 เม็ด จึงใช้หนี้กรรมได้ไว การเงินเราจะคล่องตัวไว
หากท่านไหน รู้สึกว่าการเงินไม่คล่องสักที วิบากกรรมทางการเงินเยอะเหลือเกิน ใช้เขาเท่าไหร่ก็ไม่หมดสักที หรือมีปัญหาการเงินตลอด แสดงว่าชาติที่แล้ว ติดหนี้กรรมเขาไว้เยอะ ต้องแก้ด้วยการถวายข้าวสาร หนักกว่าน้ำหนักตัวเรา ณ ปัจจุบัน บวก 1กก. ถวายเป็นสังฆทาน วัดไหนก็ได้ ต้องกล่าวคำถวาย ให้เตรียมสังฆทาน 1 ชุด แล้วถวายข้าวสาร เป็นบริวาร ของสังฆทานไป เช่น หนัก 63 กก. ก็ถวาย 64 กก.
หากทำหมดทีเดียวไม่ได้ ให้ทำทั้งหมดภายในสามเดือน แบ่งทำ ไม่ใช่เอาไปมอบให้นอกเขตพระศาสนา เนื้อนาบุญมันน้อย ได้บุญน้อย ต้องในเขตจึงจะแก้กรรมได้
จากนั้น ตั้งใจกรวดน้ำว่า หากเราเคยติดหนี้ใครไม่ได้ใช้ในอดีตชาติ จนถึงปัจจุบันชาติทั้งหมดนี้ เราขอชดใช้ให้ด้วยอานิสงส์จากการถวายข้าวสาร เหล่านี้ แด่เนื้อนาบุญพระพุทธศาสนาบุญนี้ ขอให้ถึงแก่ทุกรูปรูปนาม ที่เราติดหนี้ท่าน
2.ทำบุญที่หนุนขึ้นที่สูง เช่น แท่นประทับพระพุทธรูป เก้าอี้ อาสนสงฆ์ รองเท้า เสื่อสาด เครื่องลาดปู ถนน สะพาน
3.ทำซุ้มประตู วัด หรือ ป้ายบอกทางไปวัด
4.ชำระหนี้สงฆ์ ที่ให้ทำใน 3 หัวข้อข้างต้น
เพราะ บางท่าน กรรมเก่าหนักมากๆ แก้แบบทั่วๆ ไปไม่ได้ ต้องแก้ด้วยการกระทำเหล่านี้หากไม่แก้ ก็จะหนักไปจนวันตาย จะมีเงินมาช่วงไหน ก็จะพลัดไป จะมีโอกาสดีๆเมื่อไหร่ ก็จะพลาดไปทุกๆ ทีลองทำดู ไม่เสียหาย กรรมหากแก้ถูกจุด มันก็หลุดชีวิตจะดีขึ้น…
หมายเหตุ ข้าวสารถึงแม้ว่า ธัญญาหารดิบ ไม่หมายรวมข้าวสาร แต่มุ่งหมายถึงข้าวเปลือกที่ยังไม่ได้ขัดสี แต่การถวายข้าวสารนั้น ก็ยังไม่ควรถวายแก่สมณะ เพราะลำบากในการรักษาพระวินัย เป็นการผิดจากข้อจุลศีล แล้วก็อ้างศีลข้อหนึ่ง ในจุลศีล ที่ว่า “อามกธญฺญมปฏิคฺคหณา ปฏิวิรโต โหติ -พระภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ”แม้”คำว่า ธัญญาหารดิบ ไม่ได้หมายถึง ข้าวสาร”เราก็ควรใช้ปัญญาพิจารณาว่า วัดแห่งนั้น มีแม่ชี หรือเด็กวัด ที่สามารถหุงหาอาหาร เพื่อถวายพระสงฆ์ได้หรือไม่จะเป็นการดี
ขอบคุณที่มาจาก : seedaza.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น