ไขข้อสงสัย เปิดแอร์ 1 ชั่วโมง เสียค่าไฟกี่บาท?

 

   เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จำเป็นอย่างมากในตอนนี้ สำหรับ เครื่องปรับอากาศ หรือ แอร์ ยิ่งหน้าร้อนของประเทศไทยบ้านเรา อากาศแตะ 40 องศาฯ ร้อนระอุแบบนี้ถ้าได้แอร์สักตัวติดใช้ในบ้านก็คงจะอยู่บ้านมากขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยค่าไฟที่สูงกระฉูดขึ้น แต่อากาศร้อนซะขนาดนี้ไม่ให้เปิดเครื่องปรับอากาศเลยก็ไม่ได้ 

       ล่าสุด ทางด้านเพจเฟสบุ๊ก ลงทุนแมน  ได้โพสต์ไขข้อสงสัย หรือสิ่งที่หลายคนอยากรู้ ว่าเปิดแอร์ 1 ชั่วโมง เสียค่าไฟกี่บาท ? โดยได้โพสต์ระบุว่า….  


       เปิดแอร์ 1 ชั่วโมง เสียค่าไฟกี่บาท ? /โดย ลงทุนแมน

       บทความนี้ ลงทุนแมนจะไม่ได้เล่าเรื่องเศรษฐกิจ ธุรกิจ หรือการลงทุน แต่จะพูดถึงเรื่องของ “ค่าไฟฟ้า” เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนควรรู้ และค่าไฟก็เรียกได้ว่าเป็นต้นทุน ที่เราต้องจ่ายเพื่อการดำรงชีวิตในแต่ละวัน หากตั้งต้นจากคำถามง่าย ๆ คือ  ถ้าเราเปิดแอร์ 1 ชั่วโมง จะใช้ไฟฟ้ามากขนาดไหน  หน่วยที่ใช้วัดคืออะไร แล้วเราจะต้องเสียค่าไฟเท่าไร ? ถ้าเราเป็นหนึ่งในคนที่สงสัย ลงทุนแมนจะสรุปเรื่องค่าไฟ ในฉบับง่าย ๆ ให้ฟัง 

       ก่อนอื่น เรามารู้จักกับ Watt อ่านว่า วัตต์ กันก่อน คำนี้ จะเป็นคำแรกที่เราจะเห็น หรือได้ยินเสมอเมื่อไปซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า   โดย วัตต์ จะเป็นตัวบอกว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าดังกล่าว ใช้กำลังไฟเท่าไร เช่น

       – พัดลม ใช้กำลังไฟ 50 วัตต์

       – หลอดไฟ ใช้กำลังไฟ 10 วัตต์

     – เครื่องปรับอากาศ ใช้กำลังไฟ 2,000 วัตต์

       หรือถ้าอยากแปลง วัตต์ ให้เป็น กิโลวัตต์ ก็แค่หารด้วย 1,000

       ยกตัวอย่าง ถ้าเราเปิดแอร์ 2,000 วัตต์ ก็จะใช้กำลังไฟ 2 กิโลวัตต์ แต่สำหรับการคิดค่าไฟ เราต้องเอากำลังไฟฟ้าที่ใช้ คูณด้วย ระยะเวลาที่เราใช้

       ดังนั้นถ้าเราเปิดแอร์ เป็นเวลา 1 ชั่วโมง แปลว่าเราใช้ไฟไป 2 x 1 = 2 กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่ง “กิโลวัตต์ชั่วโมง” นี้เอง ก็จะตรงกับคำว่า “หน่วย” ในบิลค่าไฟของเราพอดี
แปลว่า หากค่าไฟอยู่ที่ 4.5 บาทต่อหน่วย ค่าไฟที่เราต้องเสียจากการเปิดแอร์เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ก็จะเท่ากับ 2 x 4.5 = 9 บาท.. ถ้าเราเปิดแอร์วันละ 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 30 วัน ก็จะเสียค่าไฟฟ้าประมาณ 2,160 บาท

       ดังนั้นถ้าเราจะซื้อแอร์สักเครื่องมาเปิดตอนกลางคืน อาจคำนวณแบบง่าย ๆ ได้เลยว่าจะเสียค่าไฟเดือนละ 2,000 บาท ทั้งนี้ตัวเลขอาจแตกต่างจากนี้ได้ ก็ขึ้นอยู่กับ วัตต์ของแอร์ โดยทั่วไป แอร์ขนาด 20,000 BTU จะใช้ไฟประมาณ 2 กิโลวัตต์ และชั่วโมงการทำงานของแอร์ เพราะปกติการที่เราเปิดแอร์ 10 ชั่วโมง

       เครื่องปรับอากาศอาจจะทำงานจริงเพียงแค่ 7 ชั่วโมง เพราะเมื่อห้องมีอุณหภูมิถึงค่าที่กำหนด เครื่องจะหยุดทำความเย็น และจะวนกลับมาทำงานอีกครั้งเมื่อห้องมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น
แต่ในฤดูร้อน แอร์จะต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะอุณหภูมิในบ้านของเราสูงกว่าปกติ ส่งผลให้ค่าไฟที่เราจ่ายตอนสิ้นเดือนแพงขึ้นได้ แม้เราจะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านไม่ต่างจากเดิม
อย่างไรก็ตาม การคำนวณว่าแต่ละเดือนจะเสียค่าไฟเท่าไรนั้น ก็จะไม่ได้ตรงไปตรงมาแบบที่ยกตัวอย่างข้างต้น เนื่องจากในบิลค่าไฟฟ้า จะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ

       1. ค่าพลังงานไฟฟ้า หรือค่าไฟฟ้าฐาน จะคิดค่าบริการ แบบอัตราก้าวหน้า ตามปริมาณการใช้ไฟฟ้า อย่างเช่น

       – ไฟฟ้า 150 หน่วยแรก มีราคา 3.2 บาทต่อหน่วย

       – ไฟฟ้าหน่วยที่ 151-400 มีราคา 4.2 บาทต่อหน่วย

       – ไฟฟ้าตั้งแต่หน่วยที่ 401 ขึ้นไป ก็จะมีราคา 4.4 บาทต่อหน่วย

       2. ค่า Ft หรือก็คือ ต้นทุนผันแปรและต้นทุนอื่น ๆ ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งจะมีการปรับทุก ๆ 4 เดือน โดยในเดือนเมษายน อัตราค่า Ft อยู่ที่ 0.93 บาทต่อหน่วย

       3. ค่าบริการรายเดือน เช่น ค่าจดหน่วย และจัดทำจัดส่งบิลค่าไฟ ปัจจุบันมีค่าบริการอยู่ที่ 24.62 บาท

       4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%

       ทั้งนี้ตัวเลขข้างต้นเป็นอัตราสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่อยู่อาศัยเท่านั้น  หากเป็นกิจการ หรือโรงงาน ก็จะถูกเรียกเก็บในอัตราที่แตกต่างกัน จะเห็นว่าการที่เราจะจ่ายค่าไฟฟ้าถูก หรือแพง ก็มีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยกัน ทั้งที่เราสามารถควบคุมเองได้ อย่างเช่น การเลือกกำลังไฟฟ้า รวมถึงฟังก์ชันเสริม และประสิทธิภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5

       อีกข้อก็คือ การวางแผนการใช้งาน ว่าจะใช้มากหรือใช้น้อยอย่างไรในแต่ละช่วงเวลา  ในขณะเดียวกัน ก็มีปัจจัยที่ผู้ใช้ไฟฟ้าอย่างเราควบคุมไม่ได้ คือ อัตราค่าไฟฟ้า ทั้งค่าไฟฟ้าฐาน และค่า Ft ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยนี้ มีส่วนทำให้ค่าไฟฟ้าถูกลงหรือแพงขึ้นได้ แม้เราจะใช้ไฟฟ้าเท่าเดิม..


ความคิดเห็นจากชาวเน็ต 

             เป็นตัวเลขที่ทำเอาหลายคนตกใจอยู่เหมือนกัน แต่ก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจุบัน อุณหภูมิห้อง ขนาดแอร์ ขนาดห้องที่เหมาะสม แต่อย่างไรแล้วก็คงจะต้องยอมจ่ายถ้าจะร้อนขนาดนี้ เปิดแอร์ เปิดพัดลมช่วยอีกแรงจะได้ช่วยแอร์ให้ทำงานน้อยลง 

เรียบเรียงโดย : thaihitz.com ขอขอบคุณข้อมูลจาก ลงทุนแมน  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

คำอธิษฐาน ถวายน้ำหน้าหิ้งพระ เสริมสิริมงคล ชีวิตเป็นสุขร่มเย็น

แจกสูตรทำ “น้ำยาล้างจาน” จากมะกรูดหลังบ้าน ดีจริง

วิธีการทำลอดช่อง สุดยอดขนมหวาน ทำทานกินเอง แบบไม่ง้อร้าน

สูตรทำ "พะแนงเนื้อ" หอมกะทิและพริกแกง เผ็ดร้อนครบรส

แจกสูตรก๋วยเตี๋ยวเรือ งบลงทุนแค่หลักร้อย อร่อยจนทำขายแทบไม่ทัน

ตามหาสูตรมานาน วิธีทำ“ปลาส้มตัวสูตรโบราณ” สูตรนี้เป็นสูตรที่สามารถทำรับประทานได้ง่ายๆที่บ้าน

สูตร “ขนมเปี๊ยะสายรุ้งไส้เผือก” สีสันสวยงาม ไส้เผือกหอมๆ แป้งนุ่มอร่อยมาก

แจกสูตรน้ำพริกกะปิ 4 สูตร อร่อยสุดยอด ชนิดที่ไม่ผิดหวังแน่นอน

เมนูสุดฟิน‼️หมูกรอบสูตรง่าย เร่งด่วน ไม่จิ้ม ไม่ตาก ไม่ต้ม ไม่แช่น้ำส้ม ไม่กลัวน้ำมันกระเด็น |ครัวแม่ผึ้ง

แจกสูตรทำซุปหอมแดงขิง กินป้องกันการสูญเสียการมองเห็น ชามือ-เท้า